เมนู

[

อรรถาธิบายฐานะ 5 ประการ

]
บรรดาฐานะทั้ง 5 นั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ ภัณฑะ. ก็เมื่อภิกษุ
ผู้ลัก แม้รับเป็นสัตย์ว่า ภัณฑะชื่อนี้ ผมลักไปจริง พระวินัยธร อย่าพึงยก
อาบัติขึ้นปรับทันที, พึงพิจารณาว่า ภัณฑะนั้นมีเจ้าของหรือหาเจ้าของมิได้.
แม้ในภัณฑะที่มีเจ้าของ ก็พิจารณาว่า เจ้าของยังมีอาลัยอยู่ หรือไม่มีอาลัย
แล้ว. ถ้าภิกษุลักในเวลาที่เจ้าของเหล่านั้น ยังมีอาลัย พระวินัยธร พึงตีราคา
ปรับอาบัติ. ถ้าลักในเวลาที่เจ้าของหาอาลัยมิได้ ไม่พึงปรับอาบัติปาราชิก.
แต่เมื่อเจ้าของภัณฑะให้นำภัณฑะมาคืน พึงให้ภัณฑะคืน. อันนี้เป็นความ
ชอบในเรื่องนี้.

[

เรื่องภิกษุลักจีวรพระวินัยธรตัดสินว่าไม่เป็นอาบัติ

]
ก็เพื่อแสดงเนื้อความนี้ ควรนำเรื่องมาสาธกดังต่อไปนี้ :- ได้ยินว่า
ในรัชกาลแห่งพระเจ้าภาติยราช มีภิกษุรูปหนึ่ง พาดผ้ากาสาวะสีเหลืองยาว
7 ศอก ไว้ที่จะงอยบ่าแล้วเข้าไปยังลานพระเจดีย์จากทิศทักษิณ เพื่อบูชา
พระมหาเจดีย์. ขณะนั้นเอง แม้พระราชาก็เสด็จมาเพื่อถวายบังคมพระเจดีย์.
เวลานั้น เมื่อกำลังไล่ต้อนหมู่ชนไป ความอลเวงแห่งมหาชน ก็ได้มีขึ้นแล้ว.
คราวนั้นแล ภิกษุรูปนั้น ถูกความอลเวงแห่งมหาชนรบกวนแล้ว ไม่ทันได้
เห็นผ้ากาสาวะ ซึ่งพลัดตกไปจากจะงอยบ่าเลย ก็ได้เดินออกไป. ก็แล ครั้น
เดินออกไปแล้ว เมื่อไม่เห็นผ้ากาสาวะ ก็ทอดธุระว่า ใคร จะหาผ้ากาสาวะได้
ในเมื่อฝูงชนอลเวงอยู่เช่นนี้, บัดนี้ ผ้ากาสาวะนั้น ไม่ใช่ของเรา ดังนี้แล้ว
ก็เดินออกไป. คราวนั้น มีภิกษุรูปอื่นเดินมาภายหลัง ได้เห็นผ้ากาสาวะนั้นแล้ว
ก็ถือเอาด้วยไถยจิต แต่กลับมีความเดือดร้อนขึ้น, เมื่อเกิดความคิดขึ้นว่า
บัดนี้ เราไม่เป็นสมณะ, เราจักสึก แล้วจึงคิดว่า จักถามพระวินัยธรทั้งหลายดู

จึงจักรู้ได้. ก็โดยสมัยนั้น มีภิกษุผู้ทรงพระปริยัติทั้งปวง ชื่อจูฬสุมนเถระ
เป็นปาโมกขาจารย์ทางพระวินัย พักอยู่ในมหาวิหาร. ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหา
พระเถระแล้วไหว้ ขอโอกาสแล้ว จึงได้เรียนถามข้อสงสัยของตน. พระเถระ
ทราบความที่ผ้ากาสาวะอันภิกษุผู้มาภายหลังรูปนั้นถือเอาในเมื่อฝูงชนแยกกัน
ไปแล้ว คิดว่า คราวนี้ ก็มีโอกาสในการได้ผ้ากาสาวะนี้ จึงได้กล่าวว่า ถ้า
คุณพึงนำภิกษุผู้เป็นเจ้าของผ้ากาสาวะมาได้ไซร้ ; ข้าพเจ้าอาจทำที่พึ่งให้แก่คุณ
ได้. ภิกษุรูปนั้นเรียนว่า กระผมจักเห็นท่านรูปนั้นได้อย่างไร? ขอรับ!.
พระเถระสั่งว่า คุณจงไปค้นดูในที่นั้น ๆ เถิด. เธอรูปนั้น ค้นดูมหาวิหารทั้ง
5 แห่ง ก็มิได้พบเห็นเลย. ทีนั้น พระเถระถามเธอรูปนั้นว่า พวกภิกษุพา กัน
มาจากทิศไหนมาก ?. เธอรูปนั้นเรียนว่า จากทิศทักษิณ ขอรับ !. พระ
เถระสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงวัดผ้ากาสาวะทั้งโดยส่วนยาวและโดยส่วนกว้าง
แล้วเก็บไว้ ครั้นเก็บแล้วจงค้นหาดูตามลำดับวิหารทางด้านทิศทักษิณ แล้วนำ
ภิกษุรูปนั้นมา. เธอรูปนั้น ทำตามคำสั่งนั้นแล้ว ก็ได้พบภิกษุรูปนั้น แล้ว
ได้นำมายังสำนักพระเถระ. พระเถระถามว่า นี้ผ้ากาสาวะของเธอหรือ ? ภิกษุ
เจ้าของผ้าเรียนว่า ใช่ขอรับ !. พระเถระถามว่า เธอทำให้ตก ณ ที่ไหน.
เธอรูปนั้นก็เรียนบอกเรื่องทั้งหมดแล้ว. พระเถระได้ฟังการทอดธุระที่เธอนั้น
ทำแล้ว จึงถามรูปที่ถือเอาผ้านอกนี้ว่า เธอได้เห็นผ้าผืนนี้ที่ไหน จึงได้ถือเอา ?
แม้เธอนั้น ก็เรียนบอกเรื่องทั้งหมด. ต่อจากนั้น พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุ
รูปที่ถือเอาผ้านั้นว่า ถ้าเธอจักได้ถือเอาด้วยจิตบริสุทธิ์แล้วไซร้, เธอก็ไม่พึง
เป็นอาบัติเลย, แต่เพราะถือเอาด้วยไถยจิต เธอจึงต้องอาบัติทุกกฎ, ครั้น
เธอแสดงอาบัติทุกกฎนั้นแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาบัติ. อนึ่ง เธอจงทำผ้ากาสาวะ
ผืนนี้ให้เป็นของตน แล้วถวายคืนแก่ภิกษุรูปนั้นนั่นเถิด. ภิกษุรูปนั้นได้ประสบ

ความเบาใจเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับได้รดด้วยน้ำอมฤต ฉะนั้น. พระวินัยธร
พึงสอดส่องถึงวัตถุอย่างนี้.
ฐานะว่า กาล คือ กาลที่ลัก. ด้วยว่าภัณฑะนั้น ๆ บางคราวมีราคา
พอสมควร บางคราวมีราคาแพง. เพราะฉะนั้น ภัณฑะนั้น พระวินัยธร
พึงปรับอาบัติตามราคาของในกาลที่ภิกษุลัก. พึงสอดส่องถึงกาลอย่างนี้.
ฐานะว่า ประเทศ คือ ประเทศที่ลัก. ก็ภัณฑะนั่น ภิกษุลักใน
ประเทศได, พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาของในประเทศนั้นนั่นแหละ.
ด้วยว่าในประเทศที่เกิดของภัณฑะ ภัณฑะย่อมมีราคาพอสมควร ในประเทศ
อื่น ย่อมมีราคาแพง.
ก็เพื่อแสดงเนื้อความแม้นี้ ควรสาธกเรื่องดังต่อไปนี้ :- ได้ยินว่า
ในประเทศคาบฝั่งสมุทร มีภิกษุรูปหนึ่ง ได้มะพร้าวมีสัณฐานดี จึงให้กลึง
ทำเป็นกระบวยน้ำ ที่น่าพอใจ เช่นกับเปลือกสังข์ แล้ววางไว้ที่ประเทศนั้น
นั่นเอง จึงได้ไปยังเจติยคีรีวิหาร. คราวนั้น มีภิกษุรูปอื่นได้ไปยังประเทศ
คาบฝั่งสมุทร พักอยู่ที่วิหารนั้น พอเห็นกระบวยนั้น จึงได้ถือเอาด้วยไถยจิต
แล้วก็มายังเจติยคีรีวิหารนั่นเอง. เมื่อเธอรูปนั้นดื่มข้าวยาคูอยู่ที่เจติยคีรีวิหาร
นั้น ภิกษุเจ้าของกระบวย ได้เห็นกระบวยนั้นเข้า จึงกล่าวว่า คุณได้กระบวย
นี้มาจากไหน ? ภิกษุรูปที่ถือมานั้น ตอบว่า ผมนำมาจากประเทศคาบฝั่งสมุทร.
ภิกษุเจ้าของกระบวยนั้น กล่าวว่า กระบวยนี้ ไม่ใช่ของคุณ; คุณถือเอาด้วย
ความเป็นขโมย ดังนี้แล้ว จึงได้ฉุดคร่าไปยังท่ามกลางสงฆ์. ในเจติยคีรีวิหาร
นั้น ภิกษุทั้งหลายก็ไม่ได้รับความชี้ขาด จึงได้พากันกลับมายังมหาวิหาร.
เธอทั้งหลายให้ตีกลองประกาศในมหาวิหาร แล้วทำการประชุมใกล้มหาเจดีย์
เริ่มวินิจฉัยกัน. พระเถระผู้ทรงพระวินัยทั้งหลาย ก็ได้บัญญัติอวหารไว้แล้ว.

ก็แล ภิกษุผู้ฉลาดในพระวินัย ชื่ออาภิธรรมิกโคทัตตเถระ ก็มีอยู่ในสันนิบาต
นั้นด้วย. พระเถระนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้ลักกระบวยนี้ในที่ไหน ?
ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เธอลักที่ประเทศคาบฝั่งสมุทร. พระเถระถามว่า ที่
ประเทศนั้น กระบวยนี้ มีค่าเท่าไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ไม่มีค่าอะไร ๆ.
พระเถระกล่าวว่า ความจริง ที่ประเทศนั้น พวกประชาชนปอกมะพร้าวเคี้ยว
กินเยื่อข้างใน แล้วก็ทิ้งกระลาไว้, ก็กระลานั้นกระจายอยู่เพื่อเป็นฟืน ( เท่า
นั้น ). พระเถระถามต่อไปว่า หัตถกรรมในกระบวยนี้ ของภิกษุรูปนี้ มีค่า
เท่าไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า มีค่าหนึ่งมาสก หรือหย่อนกว่าหนึ่งมาสก.
พระเถระถามว่า ก็มีในที่ไหนบ้าง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ
ปาราชิกไว้ เพราะหนึ่งมาสก หรือหย่อนกว่าหนึ่งมาสก ? เมื่อพระเถระกล่าว
อย่างนี้แล้ว ก็ได้มีสาธุการเป็นอันเดียวกันว่า ดีละ ๆ พระคุณท่านกล่าวชอบ
แล้ว วินิจฉัยถูกต้องดีแล้ว. ก็คราวนั้น แม้พระเจ้าภาติยราช ก็เสด็จออกจาก
พระนครเพื่อถวายบังคมพระเจดีย์ ได้สดับเสียงนั้น จึงตรัสถามว่า นี้เรื่อง
อะไรกัน ครั้นได้สดับเรื่องทั้งหมดตามลำดับแล้ว จึงทรงรับสั่งให้เที่ยวตีกลอง
ประกาศในพระนครว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ อธิกรณ์ของพวกภิกษุบ้าง พวก
ภิกษุณีบ้าง พวกคฤหัสถ์บ้าง ที่พระอาภิธรรมิกโคทัตตเถระตัดสินแล้ว เป็น
อันตัดสินถูกต้องดี เราจะลงราชอาญาคนผู้ไม่ตั้งอยู่ในคำตัดสินของท่าน. พึง
สอดส่องถึงประเทศอย่างนี้.

[

พระวินัยธรควรสอดส่องราคาและการใช้สอย

]
ฐานะว่า ราคา คือ ราคาของ. ด้วยว่า ภัณฑะใหม่ ย่อมมีราคา
ภายหลัง ราคาย่อมลดลงได้. เหมือนบาตรที่ระบมใหม่ ย่อมมีราคาถึง 8 หรือ
10 กหาปณะ, ภายหลัง บาตรนั้น มีช่องทะลุ หรือถูกหมุดและปมทำลาย